วิธีเลิกบุหรี่

การสูบบุหรี่นั้น ส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างค่ะ โดยผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่ จะได้รับสารพิษจากควันบุหรี่ไปด้วย หรือที่เรียกว่า ควันบุหรี่มือสอง (second hand smoker)

สารพิษที่มีในบุหรี่ มีหลายชนิดด้วยกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็น นิโคติน (Nicotine) คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) ทาร์ (Tar) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen dioxide) ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide)

โดยในผู้ที่สูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน จะก่อให้เกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD : Chronic Obstrutive Pulmonary Disease) เนื่องจากการสูบบุหรี่จะทำให้หลอดลมเกิดการอักเสบและตีบแคบ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยง่ายเนื่องจากประสิทธิภาพการหายใจที่ลดลง นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการทำลายของเนื้อปอด และระบบทางเดินหายใจจะสร้างเมือก (mucous) ออกมาปริมาณมาก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไอ มีเสมหะมากค่ะ

ในผู้ป่วยที่มีภาวะโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เป็นหนักอาจต้องมีการเจาะคอ (Tracheostomy) เพื่อเปิดทางเดินหายใจ

เมื่อทราบถึงโทษของบุหรี่แบบนี้แล้ว หากท่านไหนยังสูบอยู่อาจจะค่อยๆ ลดการสูบให้น้อยลง หรือหาวิธีเลิกสูบ เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองและคนใกล้ชิดกันค่ะ

วิธีเลิกสูบบุหรี่นั้นมีหลายวิธีด้วยกัน วันนี้เราจะมาแนะนำ 5 วิธีง่าย เพื่อเลิกบุหรี่ ค่ะ

  1. หาแรงบันดาลใจในการเลิกบุหรี่ เช่น การตั้งเป้าหมายที่จะมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง การเลิกบุหรี่เพื่อให้คนใกล้ชิดมีสุขภาพดีขึ้นไม่สูดดมควันบุหรี่เข้าไป หรือการเลิกบุหรี่เพื่อเก็บเงินก็เป็นเรื่องน่าสนใจทีเดียวค่ะ
  2. หากิจกรรมเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากการสูบบุหรี่ เช่น การดูหนัง ฟังเพลง ทำงานอดิเรกที่เราชอบ
  3. ประวิงเวลาในการสูบบุหรี่ออกไป เมื่อรู้สึกอยากสูบบุหรี่ ให้ลองเลื่อนเวลาออกไป เช่น อีกสัก 10 นาที 20 นาที 30 นาที ค่อยสูบ เมื่อทำได้แล้วให้ค่อยขยับเวลาออกไปให้นานขึ้นค่ะ
  4. ทานผลไม้รสเปรี้ยว เนื่องจากรสชาติที่เปรี้ยวของผลไม้จะทำให้รสชาติของบุหรี่เปลี่ยนแปลงค่ะ
  5. ใช้ตัวช่วยในการเลิกบุหรี่ เช่น หมากฝรั่งเลิกบุหรี่ แผ่นแปะเลิกบุหรี่ โดยในหมากฝรั่งและแผ่นแปะจะมีสารนิโคติน ซึ่งเป็นสารที่มีในบุหรี่ที่เราสูบค่ะ โดยเมื่อเราใช้ตัวช่วยเหล่านี้จะทำให้เราลดความอยากสูบบุหรี่จริงๆ ลงไปได้ค่า

เห็นไหมล่ะค่ะว่าหากเราเลิกสูบบุหรี่ได้นั้น นอกจากจะทำให้สุขภาพของทั้งตัวเราเองและคนที่อยู่รอบข้างเราดีขึ้นแล้ว ยังทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้และเก็บเงินได้เพิ่มขึ้นอีกค่า ??

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel ?: 063-526-5593
E-mail : unitynursingcare@gmail.com
Website : www.unitynursingcare.com

ในเลือดมีองค์ประกอบอะไรบ้างน้า?

ทราบกันไหมคะว่าเวลาที่เราไปบริจาคเลือดนั้น เลือดของเรานั้นสามารถนำไปแยกเป็นชนิดของเลือดแบบไหนได้บ้างค่ะ

ก่อนอื่นเราต้องมาดูก่อนว่า ในเลือดของเรามีองค์ประกอบอะไรบ้าง
โดยในเลือดของเรา มีองค์ประกอบ ดังนี้ค่ะ

  1. พลาสมา(Plasma) มีสีเหลืองใสมีสัดส่วน 55-60% ของปริมาตรเลือดทั้งหมด โดยในพลาสมานั้น มีองค์ประกอบหลายอย่าง เช่น อัลบูมิน(Albumin) เกลือแร่(Electrolytes) ฮอร์โมน(Hormone) ก๊าซที่ละลายในน้ำเลือด(Blood gas) และปัจจัยการแข็งตัวของเลือด เป็นต้นค่ะ
  2. เม็ดเลือดแดง(Red Blood Cells) จะมีหน้าที่ขนส่งก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย
  3. เม็ดเลือดขาว(White Blood Cells) มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกายของเราเพื่อป้องกันการติดเชื้อในร่างกายค่ะ โดยหากร่างกายเรามีการอักเสบหรือติดเชื้อขึ้นจะทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาวในร่างกายสูงขึ้นนั่นเอง
  4. เกล็ดเลือด(Platelets) ช่วยในเรื่องกระบวนการแข็งตัวของเลือด เมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บ มีเลือดออก เกล็ดเลือดจะทำหน้าที่ไปอุดรูรั่วของเหลือเลือดเพื่อให้เลือดหยุดไหลค่ะ

โดยเมื่อเราทำการบริจาคเลือดนั้นสามารถนำไปแยกเป็น พลาสมา เกร็ดเลือด และเม็ดเลือดแดงค่ะ

โดยเลือดทั้ง 3 ชนิด มีความแตกต่างกัน ดังนี้ค่ะ

  1. พลาสมา ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการพลาสมาในการรักษา เช่น ผู้ป่วยที่ขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือด โดย โดยพลาสมาจะถูกนำไปทำผลิตภัณฑ์อื่นต่อ ได้แก่ แฟคเตอร์ VIII (Factor VIII) อิมมูโนโกลบูลิน Immunoglobulin อัลบูมิน(Albumin )ค่ะ
  2. เกล็ดเลือด ใช้สำหรับผู้ที่ไขกระดูกสร้างได้น้อย เช่น ไขกระดูกฝ่อ หรือผู้ป่วยที่มีการสูญเสียเกล็ดเลือดมาก
  3. เม็ดเลือดแดง ใช้สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคที่มีการสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อย เช่น ธาลัสซีเมีย หรือผู้ป่วยที่สูญเสียเลือดมาก

เห็นไหมละคะว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคหลายๆโรคนั้น จำเป็นต้องมีการได้รับเลือดเพื่อช่วยในการรักษาภาวะที่เป็น หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่เป็นโรคแต่มีการสูญเสียเลือดมาก ไม่ว่าจะเป็นจากการผ่าตัดใหญ่ จากอุบัติเหตุ ก็ยังมีความจำเป็นต้องได้รับเลือดเช่นกันค่ะ

การที่เราบริจาคเลือดนั้น เลือดของเราสามารถนำไปช่วยชีวิตผู้อื่นได้อีกมากมายเลยค่ะ

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel ?: 063-526-5593
E-mail ?: unitynursingcare@gmail.com
Website ? : www.unitynursingcare.com

เตรียมตัวก่อนการบริจาคเลือด ต้องทำอย่างไรบ้างน้า?

ในช่วงวิกฤตโควิด-19 แบบนี้ ทำให้ผู้ที่มาบริจาคเลือดมีจำนวนลดลด จึงทำให้เลือดที่ขาดแคลนอยู่แล้ว มีการขาดแคลนมากขึ้น ซึ่งผลของการเลือดที่ขาดแคลนนั้นทำให้ผู้ป่วยที่ต้องได้รับเลือด ไม่มีเลือดสำหรับการใช้ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ป่วยที่ต้องมีการสูญเสียเลือดมากจากการผ่าตัดใหญ่ (ทำให้การผ่าตัดล่าช้าออกไป เนื่องจากไม่มีเลือดให้ค่ะ) หรือผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุที่มีการสูญเสียเลือด รวมทั้งผู้ป่วยที่มีภาวะโลหิตจาง หรือผู้ป่วยอื่นๆ ที่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับเลือดค่ะ

Unity Nursing Care จึงอยากเชิญชวนให้ทุกท่านที่สามารถบริจาคโลหิตได้ มาบริจาคโลหิตกันค่ะ ?

แต่ก่อนที่จะไปบริจาคโลหิต เรามาดูกันก่อนดีกว่าค่ะว่า เราจะต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ก่อนที่จะไปบริจาคโลหิตค่ะ

ก่อนการบริจาคโลหิตต้องมีการเตรียมตัว ดังนี้ค่ะ

  1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
  2. รู้สึกสบายดี สุขภาพแข็งแรง พร้อมที่จะบริจาคโลหิต หากอยู่ระหว่างรับประทานยารักษาโรค ให้แจ้งแพทย์/พยาบาล ผู้ตรวจคัดกรองสุขภาพทุกครั้ง
  3. รับประทานอาหารประจำมื้อก่อนมาบริจาคโลหิต หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ แกงกะทิขนมหวาน ก่อนมาบริจาคโลหิต 6 ชั่วโมง เพราะจะทำให้พลาสมามีสีขาวขุ่น ไม่สามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้ 
  4.  ดื่มน้ำก่อนบริจาคโลหิต 30 นาที ประมาณ 3-4 แก้ว ซึ่งเท่ากับปริมาณโลหิตที่เสียไปในการบริจาค จะทำให้โลหิตไหลเวียนดีขึ้น และช่วยลดภาวะการเป็นลมจากการบริจาคโลหิตได้
  5. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ก่อนมาบริจาคโลหิตอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

6. งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังบริจาคโลหิต 1 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดฟอกโลหิตได้ดี

ทุกท่านควรมีการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเข้าไปบริจาคโลหิตกันนะคะ เพื่อให้ไปแล้วเราจะได้สามารถบริจาคโลหิตกันได้ ไม่เสียเที่ยวและไม่เสียแก่ความตั้งใจที่เราต้องการให้เลือดของเราได้ช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปค่า ?

(ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย)

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel ?: 063-526-5593
E-mail ?: unitynursingcare@gmail.com
Website ? : www.unitynursingcare.com

ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia)

เชื่อว่าถ้าใครมีเบาหวานเป็นโรคประจำตัว นอกจากคำว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง(Hyperglycemia) แล้ว ต้องเคยได้ยินคำว่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ(Hypoglycemia) ด้วยแน่เลยค่ะ ทราบกันไหมคะว่า ระดับน้ำตาลในเบือดต่ำเกิดขึ้นได้อย่างไร

ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่าระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ต้องมีค่าเท่าไหร่ค่ะ

  • ในคนปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 50 mg/dl
  • ในผู้ป่วยเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 mg/dl

ซึ่งเมื่อเรามีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ จะแสดงอาการ ดังนี้ค่ะ

  1. หิว ใจสั่น รู้สึกหวิว
  2. หน้ามืด เวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม
  3. เหงื่อออก มือเท้าเย็น

โดยในผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่มีเบาหวานเป็นโรคประจำตัวยิ่งต้องระวังเรื่องระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นพิเศษค่ะ

เนื่องจากผู้ที่เป็นเบาหวานจะมีการทานยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือดหรือการฉีดอินซูลิน(Insulin) เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกิดไป แต่หลังจากทานยาหรือฉีดยาแล้วนั้น ผู้ป่วยจะต้องทานอาหารหลังฉีดยาประมาณ 30 นาทีค่ะ

หากทานยาหรือฉีดยาไปแล้วแต่ลืมทานอาหาร ก็จะทำให้เกิดระดับน้ำตาลในเลือดต่ำได้ค่ะ

แล้วเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำแล้ว จะมีวิธีแก้ไขอย่างไร?
เบื้องต้นหากท่านมีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำต้องรีบดื่มน้ำหวาน ทานน้ำตาลเนื่องจากในน้ำหวานและน้ำตาลจะมี Glucose ซึ่งดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้เร็วนั่นเองค่ะ

ในผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อย
ควรจะพกลูกอมติดตัวไว้ค่ะ เพราะเมื่อรู้สึกหิว หวิว หน้ามืด ท่านจะได้นำมาอมเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้ค่ะ (แต่อย่าลืมตัว เผลอซื้อลูกอม sugar free นะคะ ?)

แต่ผู้ป่วยที่อยู่ใน รพ. เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมาก อาจมีได้รับ Glucose ทางหลอดเลือดดำโดยตรงค่ะ

ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ(Hypoglycemia) นั้นหากเรารู้ได้ทันก็จะสามารถปฐมพยาบาลตนเองเบื้องต้นได้อย่างถูกวิธีค่ะ แต่หากปล่อยทิ้งไว้ หรือเข้ารับการรักษาไม่ได้ทันอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้เช่นกันค่ะ

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel ?: 063-526-5593
E-mail ?: unitynursingcare@gmail.com
Website ? : www.unitynursingcare.com

ภาวะปอดแฟบ

ภาวะปอดแฟบหลังการผ่าตัด (Atelectasis)

ใครเคยเข้ารับการผ่าตัดใหญ่ๆ บ้างคะ เชื่อว่าใครหลายคนน่าจะต้องผ่านประสบการณ์การเข้ารับการผ่าตัดในโรงพยาบาลมาแล้วแน่ๆ การผ่าตัดใหญ่เหล่านี้ ต้องอาศัยการดมยาสลบหรือการ block หลัง โดยวิสัญญีแพทย์ เพื่อให้หมดสติ หรือไม่รู้สึกในบริเวณที่ได้รับการผ่าตัดค่ะ

ซึ่งภายหลังจากการผ่าตัดแล้ว ท่านจะได้รับการดูแลต่อที่หอผู้ป่วย การดูแลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดนั้นมีด้วยกันหลายเรื่องค่ะ แต่วันนี้เราจะพามาดูเรื่องภาวะปอดแฟบ ภายหลังการผ่าตัด ซึ่งเป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ หากท่านไม่ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามแผนการรักษา

ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า ภาวะปอดแฟบ(Atelectasis) ภายหลังการผ่าตัดเกิดขึ้นได้อย่างไร?

  • ภาวะปอดแฟบภายหลังการผ่าตัด เกิดจากการที่ผู้ป่วยนอนแล้วแผ่นหลังติดกับเตียงนาน ไม่ได้มีการลุก ขยับตัว นอกจากนี้ภายหลังการผ่าตัดผู้ป่วยมักมีแผลที่เกิดจากการผ่าตัด รวมถึงอาจมีอุปกรณ์จากห้องผ่าตัดกลับมา เช่น สายระบายเลือดที่คาอยู่ที่แผล ทำให้การขยับตัวในช่วงนี้ลดลง

ซึ่งเมื่อผู้ป่วยขยับตัวลดลง และแผ่นหลังติดกับเตียงนานๆ แล้วจะทำให้การขยายตัวของปอดไม่ดี เมื่อเราหายใจเข้า แล้วปอดขยายตัวไม่ได้อย่างเต็มที่ก็จะทำให้ร่างกายได้รับ ออกซิเจน(Oxygen) ลดลงนั่นเองค่ะ และในผู้ป่วยบางรายที่มีการผ่าตัดทรวงอกหรือหน้าท้องการหายใจที่ลึกอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บแผลมากขึ้น ผู้ป่วยจึงมักจะมีการหายใจที่ตื้น จึงส่งผลให้ระดับออกซิเจนในเลือดลดลงได้เช่นกันค่ะ ซึ่งระดับออกซิเจนในเลือด ปกติจะมีค่า 95-100%

การป้องกันภาวะปอดแฟบภายหลังการผ่าตัด สามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยขยับตัวเพิ่มมากขึ้น การกระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออกให้ลึกขึ้น(Deep Breathing) หรือการใช้ลูกบอลดูดกระตุ้นการขยายตัวของปอด(Triflow)

Triflow หรือ Incentive Spirometer คือ อุปกรณ์ที่ช่วยกระตุ้นการขยายตัวของปอด โดยลักษณะจะเป็นพลาสติกที่มีลูกบอล 3 ลูกและมีท่อพลาสติกที่มีปากคาบ โดยในแต่ละช่องจะมีปริมาตรอากาศ 600 cc, 900 cc และ 1200 cc ค่ะ หากผู้ป่วยสามารถดูดลูกบอลให้ลอยได้ครบทุกลูกแปลว่าปอดมีการขยายตัวได้ดี
การใช้งาน Triflow สามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้

  1. จัดท่าผู้ป่วยศีรษะสูงหรือจัดท่านั่งเพื่อช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดี
  2. จับ Triflow ตั้งขึ้น ใช้ปากอมปากคาบของท่อพลาสติกให้แนบสนิท
  3. หายใจเข้า-ออก ลึกๆ ก่อนออกแรงดูดค้างไว้ 5 วินาทีเพื่อให้ลูกบอลพลาสติกใน Triflow ขยับขึ้น เว้นจังหวะพัก 2-3 วินาที ก่อนทำซ้ำ

ซึ่งการทำเช่นนี้ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ วันละ 100 ครั้ง โดยแบ่งเป็นเซต โดยฝึกเซตละ 5-10 ครั้งค่ะ

ภาวะปอดแฟบนั้น เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้ภายหลังการผ่าตัด แต่หากท่านปฏิบัติตนหลังผ่าตัดได้อย่างถูกวิธีแล้วนั้น ท่านก็จะสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะปอดแฟบตามมาได้ค่ะ

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel ????: 063-526-5593
E-mail ????: unitynursingcare@gmail.com
Website ???? : www.unitynursingcare.com