การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplant)

การปลูกถ่ายไต (Kidney Transplant)

เคยได้ยินคนพูดกันไหมคะว่า อยากขายไตจังเลย จะเอาไตไปขายได้ที่ไหน? จริงๆ แล้วการขายไตไม่สามารถทำได้นะคะ เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายค่ะ แล้วถ้าการขายไตผิดกฎหมาย แล้วผู้ป่วยที่ได้รับ ‘การปลูกถ่ายไต(Kidney Transplantion)’ นี่เค้าไปเอาไตมาจากไหนกันนะ

ร่างกายของเรามีไต 2 ข้าง โดยไต ทำหน้าที่ในการกรองของเสียจากเลือด โดยจะขับออกมาเป็นน้ำปัสสาวะนั่นเอง

โรคไตวายเรื้อรังจะมีการทำลายเนื้อไตอย่างต่อเนื่อง โดยการทำงานของไตจะลดลงต่ำกว่า 50% ซึ่งภาวะไตวายเรื้อรังเนื้อไต ไม่สามารถฟื้นฟูกลับมาทำงานได้ตามปกติทำให้เกิดการคั่งค้างของของเสีย ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจึงจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีบำบัดทดแทนไต หรือ การล้างไต นั่นเอง

ก่อนอื่นเราต้องมาดูกันก่อนว่า ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายไต หรือ Recipient ต้องเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง ที่ต้องรักษาด้วยการล้างไต

ซึ่งก่อนที่จะบริจาคไตในผู้บริจาคที่มีชีวิต จะต้องมีขั้นตอนของการคัดกรอง เช่น การซักประวัติด้านสุขภาพ การตรวจเลือด ความเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อ เป็นต้น

โดยผู้ที่จะบริจาคไตได้นั้น แบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่

  1. ผู้บริจาคไตที่มีชีวิต (Living Donor) โดยผู้บริจาคไตที่มีชีวิต สามารถบริจาคไตได้ 1 ข้าง ซึ่งสามารถบริจาคได้ในกรณี ดังนี้ ผู้บริจาคไตมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับผู้รับบริจาค ผู้บริจาคไตมีความสัมพันธ์เป็นสามีหรือภรรยากับผู้รับบริจาค
  2. ผู้บริจาคไตที่เสียชีวิต (Cadaveric Donor) โดยผู้บริจาคต้องมีการวินิจฉัยภาวะสมองตายจากแพทย์ และมีการแสดงเจตจำนงค์จากญาติหรือผู้เสียชีวิตในการบริจาคอวัยวะ

ซึ่งหลังจากการบริจาคไต สำหรับผู้บริจาคที่เป็นผู้บริจาคที่มีชีวิต (Living Donor KT) นั้นจะเหลือไตเพียงข้างเดียว แต่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เช่นเดียวกับผู้ที่ได้รับการบริจาคไต ที่จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติเช่นกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และในด้านอื่นๆ แต่ทั้งผู้ที่บริจาคไตและผู้ที่ได้รับการบริจาคไตต้องมีการดูแลตนเองที่ดีและต้องตรวจสุขภาพอยู่อย่างสม่ำเสมอค่ะ

สนใจบริการ

เจาะเลือดที่บ้าน #ทำแผลที่บ้าน #วางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน#เปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน#เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหารทางจมูก (NG tube)

ในผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถทานอาหารทางปากได้หรือยังทานอาหารทางปากได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จำเป็นต้องมีการใส่สายยางให้อาหาร โดยเริ่มต้นจะใส่สายให้อาหารทางจมูก หรือที่เรียกว่า Nasogatric feeding tube (NG tube)

NG tube คือ การใส่สายยางให้อาหารเข้าทางจมูกแล้วส่วนปลายของสายยางให้อาหารอยู่ที่กระเพาะอาหารนั่นเอง

ซึ่งการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหารทางจมูก มีดังนี้ค่ะ

  1. เช็คสายก่อนฟีดอาหารทุกครั้ง
    การฟีดอาหารผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหารทางจมูก ผู้ดูแลต้องมีการเช็คสายว่าปลายสายอยู่ในกระเพราะอาหารหรือไม่โดยใช้หูฟังทางการแพทย์(stetoscope) ฟังที่ลิ้นปี่ (xyphoid process) ก่อนใส่อากาศเข้าไป 10 cc. ด้วย syringe feed อาหารเพื่อฟังเสียงลมค่ะ
  2. เปลี่ยนพลาสเตอร์ติดสายให้อาหารที่จมูกให้ผู้ป่วย
    เมื่อพลาสเตอร์ที่ติดสายให้อาหารที่จมูกมีร่อน แปะยึดไม่อยู่ หรือสกปรก ผู้ดูแลต้องทำการเปลี่ยนเพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของสายยางให้อาหารและป้องกันความสกปรกของคราบกาวที่จะติดกับสายยาง
  3. การบีบและรูดสายให้อาหาร(Milking and stripping)
    ผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหารทางจมูก เมื่อฟีดอาหารทางสายบ่อยครั้ง จะทำให้สายให้อาหารมีคราบอาหารภายในสายได้ ดังนั้นหลังจากผู้ดูแลฟีดอาหารหรือนมให้ผู้ป่วยเสร็จ ในขณะที่ทำการฟีดน้ำตาม ต้องมีการบีบและรูดสายให้อาหาร (milking and stripping) ในกรณีที่สายให้อาหารมีคราบอาหารติดในสายเพื่อให้คราบอาหารหลุด ทำให้ยืดอายุสายให้อาหารให้สะอาดได้นานขึ้นค่ะ
  4. เปลี่ยนสายให้อาหารตามระยะเวลากำหนด
    การใส่สายให้อาหารมีกำหนดระยะเวลาในการใส่สายให้อาหาร โดยปกติ แพทย์จะทำการนัดวันที่ในการเปลี่ยนสายให้อาหารให้ เมื่อถึงครบกำหนดเปลี่ยนสายให้อาหาร ผู้ดูแลต้องพาผู้ป่วยไปเปลี่ยนสายให้อาหารตามกำหนด เพื่อป้องกันสายให้อาหารมีคราบสกปรกสะสมมากและป้องกันสายให้อาหารมีฉีก ขาด จากการเสื่อมสภาพจากการใช้งาน และเมื่อเปลี่ยนสายให้อาหารควรใส่สายให้อาหารคนละข้างกับรูจมูกเดิมเพื่อลดการกดทับของเนื้อเยื่อของผู้ป่วย
  5. ระวังสายให้อาหารดึงรั้ง
    เมื่อผู้ป่วยใส่สายให้อาหารผู้ดูแลต้องจัดท่าให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบาย และระวังสายให้อาหารดึงรั้ง เช่น การรั้งจากร่างกายผู้ป่วยทับสายให้อาหารขณะพลิกตะแคงตัว หรือผู้ป่วยนอนทับสายให้อาหาร
  6. ระวังผู้ป่วยดึงสายให้อาหาร
    ผู้ป่วยหลายคน ไม่เคยใส่สายให้อาหารทางจมูกมาก่อน จะมีความรู้สึกไม่สุขสบาย ระคายคอ เหมือนมีอะไรอยู่ในคอตลอด ทำให้อาจเผลอไปจับหรือดึงสายให้อาหารทำให้เกิดการเลื่อนหลุดของสายให้อาหารได้

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #เจาะเลือดที่บ้าน #ทำแผลที่บ้าน #วางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน#เปลี่ยนสายให้อาหาร#เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

วันส้วมโลก

19 พฤศจิกายน นอกจากจะเป็นวันลอยกระทงแล้ว ยังเป็น ‘วันส้วมโลก’ อีกด้วยค่ะ

ห้องส้วม มีอีกชื่อเรียก คือคำว่า ‘ห้องสุขา’ ซึ่งหมายถึง ที่ที่เราเข้าไปปลดทุกข์ ทำให้เกิดความสุขขึ้นมานั่นเองค่ะ 😂

ทราบกันไหมคะว่า หากเราไม่ถ่าย ถ่ายไม่ออก จะทำให้เราเกิดความรู้สึกอึดอัด แน่นท้อง ไม่สบายตัว ซึ่งความรู้สึกนี้ หากใครที่มีปัญหาท้องผูก (Constipation) อยู่เป็นประจำจะเข้าใจความรู้สึกนี้ดีเลยค่ะ

เรามาดูกันค่ะว่า ปัญหาท้องผูก นั้นเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

  1. รับประทานอาหารที่มีกากใย หรือไฟเบอร์(Fiber) น้อย ทำให้กากใยในทางเดินอาหารน้อย
  2. ดื่มน้ำน้อย การดื่มน้ำจะช่วยให้ลักษณะของอุจจาระนิ่มและถ่ายออกง่ายขึ้น ในคนที่ดื่มน้ำน้อยจะทำให้อุจจาระแข็ง ขับถ่ายออกยาก และยิ่งหากเราไม่ถ่ายอุจจาระหลายวัน ลำไส้ของเราจะดูดน้ำกลับจากอุจจาระ ทำให้ตัวเนื้ออุจจาระของเรายิ่งแข็งมากขึ้นด้วยค่ะ
  3. เคลื่อนไหวน้อย การเคลื่อนไหวร่างกายลดลงจะทำให้ลำไส้ของเราเคลื่อนไหวลดลงตามไปด้วยค่ะ หรือที่เรียก Bowel Movment ลดลงค่ะ เช่น ในผู้ป่วยที่รับการผ่าตัด ภายหลังการผ่าตัดเจ้าหน้าที่จะกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการขยับตัว เพื่อกระตุ้นในลำไส้ได้เคลื่อนไหว เพราะหากถ้าผู้ป่วยนอนนิ่งๆ ลำไส้ไม่เคลื่อนไหวแล้วนั้น นอกจากจะทำให้เกิดปัญหาการท้องผูก ท้องอืด ท้องเฟ้อตามมาได้ค่ะ
  4. การรับประทานยาบางชนิดที่ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า

หากท่านมีปัญหาท้องผูก อุจจาระยาก อุจจาระลำบากสามารถแก้ไขเบื้องต้นได้อย่างไร

  1. รับประทานอาหารที่มีกากใยอาหาร มีไฟเบอร์สูงเพิ่มขึ้น เช่น บร๊อคโครี่ แอปเปิ้ล(ไม่ปลอกเปลือก) คะน้า เป็นต้น
  2. ดื่มน้ำเพิ่มขึ้น อย่างน้อยวันละ 2,000 ml. เพื่อให้อุจจาระนิ่ม ขับออกง่าย
  3. เคลื่อนไหวร่างกายเพิ่มขึ้น หรือออกกำลังกายเพิ่มขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว

หากท่านใดทำตามวิธีการเบื้องต้นแล้ว ยังมีปัญหาท้องผูกขับถ่ายไม่ออก อาจต้องไปปรึกษาแพทย์ เภสัชกร เพื่อรับประทานยาระบายที่ช่วยให้สามารถขับถ่ายได้ค่ะ หรือหากรับประทานยาระบายแล้วยังอุจจาระไม่ออก แพทย์อาจต้องมีการวินิจฉัยเพิ่มเติม ว่าอาหารท้องผูกอาจจะมาจากสาเหตุอื่น เช่น ภาวะลำไส้อุดตัน เป็นต้น

เห็นแล้วใช่ไหมคะว่า เวลาที่เราถ่ายอุจจาระไม่ออก หรือท้องผูกไม่ควรที่จะละเลยปัญหานี้และปล่อยทิ้งเอาไว้ค่ะ เพราะจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ เช่น การเกิดริดสีดวงทวาร

เราสามารถลองปรับพฤติกรรมของเรา ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดื่มน้ำ การเคลื่อนไหวออกกำลังกาย เพียงเท่านี้ท่านก็จะมีสุขภาพของลำไส้ที่แข็งแรง ไม่รู้สึกอึดอัดแน่นท้องเวลาถ่ายอุจจาระไม่ออกแล้วค่า

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน#เปลี่ยนสายให้อาหาร#เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

อักษรเบรลล์ (Braille)

อักษรเบรลล์ (Braille)

ถ้าเรามองไม่เห็น เราจะสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างไร? ภาษาและตัวอักษรถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อให้เราได้จดบันทึก เรียนรู้ สื่อสารและยังใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน สำหรับคนที่เกิดมามองเห็นได้ปกติก็ต้องมีเรียนรู้ภาษา และอักษร เพื่อให้สามารถอ่านออก เขียนได้

ในผู้ที่มีความพิการทางสายตา หรือ ตาบอด ไม่ว่าจะโดยกำเนิดหรือเกิดความพิการขึ้นในภายหลังนั้นก็ต้องมีการเรียนรู้ภาษาและอักษร เพื่อที่ให้สามารถช่วยเหลือตนเองและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้

อักษร สำหรับ ผู้พิการทางสายตานั้นเชื่อว่าหลายคนคงต้องเคยได้ยินชื่อกันมาอยู่แล้วแน่ๆ เลยค่ะ เพราะเจ้าอักษรชนิดนี้ มีชื่อว่า ‘อักษรเบรลล์(Braille)’

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเจ้าอักษรเบรลล์ให้มากขึ้นกันค่ะ ว่าอักษรเบรลล์นั้นมีต้นกำเนิดและการใช้งานอย่างไร

อักษรเบรลล์นั้น ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดย หลุยส์ เบรลล์(Louis Braille) ครูตาบอดชาวฝรั่งเศษ ซึ่งในตอนนั้นหลุยส์ เบรลล์ ได้คิดค้นอักษรเบรลล์ขึ้น โดยดัดแปลงมาจากการส่งข่าวทางทหารในช่วงเวลากลางคืน(night-writing) ซึ่งเป็นรหัส 12 จุด โดยหลุยส์ เบรลล์(Louis Braille) ได้มีการปรับให้เหลือเพียง 6 จุด แล้วอ่านโดยใช้นิ้วสัมผัสไปบนจุดเพื่อการแปลความ ในตอนหลังนายแพทย์โทมัส อาร์มิเทจ(Thomas Armitage) ได้มีการตีพิมพ์หนังสือ Braille’s System ทำให้อักษรเบรลล์ถูกนำมาใช้สำหรับการสื่อสารในผู้ที่มีความพิการทางสายตาอย่างแพร่หลาย

ในประเทศไทย ได้มีการนำอักษาเบรลล์เข้ามาใช้ในปี ค.ศ. 1993 โดยอาจารย์เจเนวีฟ คอลฟีลด์(Genevieve Caulfield) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนสอนคนตาบอด และยังเป็นโรงเรียนสอนคนพิการแห่งแรกในประเทศไทยอีกด้วย โดยอาจารย์เจเนวีฟ คอลฟีลด์ ได้ร่วมมือกับนายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ในการกำหนดอักษรเบรลล์ภาษาไทยขึ้นมาค่ะ

อักษรเบรลล์นั้น จะถูกสลักลงกระดาษ ในลักษณะของจุดนูนเล็กๆ จำนวน 6 จุด เรียงกัน 2 แถวใน 1 ช่องเพื่อใช้แทนตัวอักษรตาดีหรือสัญลักษณ์อื่นๆ ซึ่งการเขียนอักษรเบรลล์นั้นต้องใช้ สเลต(Slate) และ ดินสอ(Stylus) สำหรับการพิมพ์อักษรเบรลล์ ต้องใช้เครื่องพิมพ์ที่เรียกว่า เบรลเลอร์ (Brailler)

ในปัจจุบันมีสินค้าหลายชนิด ที่มีตัวอักษรเบรลล์ สลักหรือแปะอยู่ที่ผลิตภัณฑ์ เช่น ขวดโลชั่น ขวดสบู่ เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาได้เลือกใช้ได้ถูกนอกจากนี้ยังมีลิฟต์โดยสารสมัยใหม่จะมีการทำอักษรเบรลล์ไว้สำหรับผู้พิการทางสายเพื่อให้สามารถสัมผัสก่อนกดปุ่มและรู้ชั้นที่จะไปได้ หรือแม้แต่กระทั่งทางเท้าก็มีการทำเบรลล์บล็อก(Braille Block) ขึ้นเพื่อให้ผู้พิการทางสายตาได้เดินทางในชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกและรวดเร็วค่ะ

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน#เปลี่ยนสายให้อาหาร#เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

วันคนพิการแห่งชาติ

ตรงกับวันเสาร์ สัปดาห์ที่ 2 เดือน พฤศจิกายน ของทุกปี ซึ่งปีนี้ ตรงกับวันที่ 13 พฤศจิกายน 64 ค่ะ
ซึ่งวันคนพิการแห่งชาตินี้ ได้ถูกกำหนดขึ้นโดย สภาคนพิการแห่งชาติ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ให้คนพิการได้พบปะ สังสรรค์ แสดงความสามารถ และนอกจากนี้ยังมีเพื่อให้คนพิการได้รู้จักนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยรักษา บรรเทาและฟื้นฟู เพื่อให้คนพิการสามารถอยู่รวมกับบุคคลอื่นในสังคมได้

โดยประเภทของความพิการนั้น จะถูกแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ได้แก่

  1. พิการทางการมองเห็น
  2. พิการทางการได้ยิน
  3. พิการทางกายหรือทางการเคลื่อนไหว
  4. พิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม
  5. พิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้
  6. พิการซ้ำซ้อน หมายถึง ผู้ที่มีความพิการมากกว่า 1 ลักษณะขึ้นไป

สัญลักษณ์ประจำวันคนพิการแห่งชาติ คือ ‘ดอกแก้วกัลยา’
ซึ่ง ดอกแก้วกัลยา นี้เป็นดอกไม้ประดิษฐ์ ที่ถูกทำขึ้นโดยคนพิการ ที่ศูนย์ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาคนพิการ

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #ดูแลเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน#เปลี่ยนสายให้อาหาร#เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com