ริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids)

ริดสีดวงทวาร คือ ภาวะที่หลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักมีการโป่งพอง และอาจมีเลือดออกขณะถ่ายอุจจาระเนื่องจากอุจจาระที่มีการเสียดสีกับตัวหลอดเลือดที่โป่งพองบริเวณทวารหนักทำให้เกิดเลือดออกได้ หรือในผู้ป่วยบางรายที่เป็นริดสีดวงทวารเยอะ อาจมีหัวริดสีดวงหรือ ติ่ง ยื่นออกมาจากรูทวารให้เห็นได้เลยค่ะ

โดยริดสีดวงทวารจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ใหญ่ๆ คือ

  1. ริดสีดวงทวารแบบภายใน (Internal Hemorrhoids) จะแบ่งความรุนแรงของโรคเป็น 4 ระยะ
    ⁃ ระยะที่ 1 : หลอดเลือดบริเวณทวารหนักมีการโป่งพองในรูทวาร
    ⁃ ระยะที่ 2 : มีติ่งโผล่ออกมาจากรูทวารขณะถ่ายอุจจาระและสามารถหดกลับเข้าไปเองได้
    ⁃ ระยะที่ 3 : ติ่งโผล่ออกมาจากรูทวาร ไม่สามารถหดกลับเข้าไปได้เอง ต้องใช้นิ้วช่วยดันกลับเข้าไป
    ⁃ ระยะที่ 4 : ติ่งโผล่ออกมาจากรูทวาร ไม่สามารถใช้นิ้วดันกลับเข้าไปได้
  2. ริดสีดวงทวารแบบภายนอก (External Hemorrhoids) จะมีลักษณะเป็นก้อนนูนที่ปากทวารหนัก(Anal margin)

พฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นริดสีดวงทวาร?
⁃ รับประทานผักน้อย ทำให้มีกากใยในระบบทางเดินอาหารน้อย
⁃ ดื่มน้ำน้อย ทำให้อุจจาระแข็งขับออกยาก
⁃ นั่งขับถ่ายอุจจาระนาน

เมื่อท่านมีอาการบ่งชี้ว่าอาจจะเป็นริดสีดวงทวารควรมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพเบื้องต้น เช่น
⁃ ทานผัก ผลไม้ให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มกากใยในระบบทางเดินอาหาร
⁃ ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อให้อุจจาระนิ่ม สามารถขับออกได้ง่าย
⁃ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้นั่งขับถ่ายอุจจาระนาน เช่น การอ่านหนังสือ หรือการเล่นโทรศัพท์ขณะถ่ายอุจจาระ

หากปรับพฤติกรรมสุขภาพแล้วยังมีปัญหาในเรื่องของริดสีดวงทวารแนะนำว่าท่านควรไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและทำการรักษาค่ะ เพราะการรักษาริดสีดวงทวารในระยะแรกสามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรับประทานยา หรือเหน็บยา แต่หากในระยะหลังๆ แล้วอาจต้องมีการรัดหัวริดสีดวงทวารให้ฝ่อ(Rubber Band Ligation) การใช้เลเซอร์จี้หัวริดสีดวงหรืออาจต้องทำการผ่าตัดออก เป็นต้นค่ะ

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นริดสีดวงทวาร จะมีความรู้สึกเจ็บบริเวณทวาร สามารถบรรเทาความเจ็บได้ด้วยการแช่ก้นเองที่บ้าน โดยการแช่ก้นนั้น ให้แช่ก่อนและหลังขับถ่ายอุจจาระ นั่งแช่ก้นของเราลงในน้ำอุ่น นานประมาณ 15-30 นาที ค่ะ

ริดสีดวงทวารเป็นสิ่งที่เป็นแล้วเมื่อรักษาหาย สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ค่ะ หากท่านยังมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดริดสีดวงทวารได้อยู่ ทางที่ดีเราควรดูแลสุขภาพลำไส้ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นรับประทานอาหารที่มีกากใยเพิ่ม ดื่มน้ำให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงการนั่งขับถ่ายอุจจาระนาน เพื่อป้องกันการเกิดริดสีดวงทวารกันดีกว่าค่ะ 😊

สนใจบริการ

#บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหาร #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

ตากุ้งยิง (Hordeolum)

‘เพราะแอบดูคนอาบน้ำไงถึงเป็นตากุ้งยิง!!?’ 😧

เวลาเป็นตากุ้งยิง(Hordeolum) มีใครเคยโดนแซวกันบ้างคะว่าเป็นเพราะไปแอบดูคนอาบน้ำมา

แต่เอ๋ มันจริงหรือเปล่านะ ว่าการที่ไปแอบดูคนอาบน้ำทำให้เป็นตากุ้งยิงน่ะค่ะ 😅

จริงๆ แล้วการเป็น ‘ตากุ้งยิง’ ไม่ได้เกี่ยวกับการไปแอบดูคนอาบน้ำแต่อย่างใดนะคะ

ตากุ้งยิง เกิดจาก การที่มือของเราสกปรกแล้วไปขยี้ตา ทำให้สิ่งสกปรก/เชื้อโรคจากมือเรา เข้าสู่ตา หรือมีสิ่งสกปรกอื่นๆ เข้าตา ทำให้ต่อมไขมันที่เปลือกตาเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ เกิดหนังตาบวมแดงขึ้นมา หรือในผู้ป่วยบางรายจะมีตุ่มหนองหัวสีเหลืองทั้งชนิดที่สามารถเห็นที่เปลือกตาด้านนอกได้และชนิดที่หลบอยู่ที่เปลือกตาด้านในค่ะ

แล้วเราจะป้องกันตนเองจากการเป็นตากุ้งยิงได้อย่างไร

  1. ล้างทำความสะอาดมือด้วยน้ำและสบู่ก่อนจะนำมือไปขยี้ตา เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกจากมือเราไปสู่ตาเราค่ะ
  2. ล้างทำความสะอาดเครื่องสำอางค์ โดยเฉพาะบริเวณตาให้สะอาดเพื่อป้องกันเครื่องสำอาง หลุดเข้าไปที่ต่อมน้ำตา
  3. ล้างทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ที่ต้องสวมใส่ในตาให้สะอาดโดยน้ำยาล้างคอนแทคเลนส์

แล้วถ้าเกิดเป็นตากุ้งยิงขึ้นมาแล้ว จะรักษาอย่างไรละ?
การรักษาเบื้องต้นนั้น เราสามารถใช้การประคบอุ่นที่เปลือกตาได้

แต่หากตากุ้งยิงไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อรับยาฆ่าเชื้อมาใช้ร่วมด้วย โดยยาจะมีทั้งยาหยอดตาเพื่อฆ่าเชื้อและยาทานเพื่อฆ่าเชื้อค่ะ

หากตาของเราอักเสบ มีขี้ตาออกมามาก ท่านต้องใช้สำลีสะอาดชุบน้ำเกลือเช็ดตาเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกออกจากตาก่อน แล้วจึงค่อยหยอดยาหยอดตาค่ะ

หากใครที่หยอดยาแล้ว ทานยาแล้วแต่ยังไม่หาย ต้องไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ประเมินเพิ่มเติม อาจต้องรักษาด้วยการเจาะหัวหนองเพื่อระบายหนองออก ร่วมกับการใช้ยาหยอดตาและการรับประทานยาฆ่าเชื้อด้วยค่ะ

สนใจบริการ

#บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหาร #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

โรคหลงตัวเอง

อาการแบบนี้ กำลังเป็นโรคหลงตัวเองอยู่หรือเปล่า?

ใครเคยมีคนมาบอกบ้างคะ ว่า ‘เธอน่ะช่างหลงตัวเองซะจริงเลย’
ทราบกันไหมคะว่า การหลงตัวเองจริงๆ แล้วนั้น เป็นความผิดปกติทางบุคลิกภาพอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ‘โรคหลงตัวเอง (NPD : Narcissistic Personality Disorder)’ หรือภาวะ Narcississm

ซึ่งคำว่า Nasissism มาจากตำนานเทพนิยาย กรีก ที่เทพที่ชื่อว่า ‘นาร์ซิสซัส (Narcissus)’ ซึ่งเป็นผู้ที่มีรูปโฉมงดงามมาก แต่ปฏิเสธความรักของเอคโค่ ทำให้ถูกอะโฟรไดท์(Aphrodite) สาป ให้หลงรักตนเอง ซึ่งเมื่อเขาก้มหน้าเพื่อไปดื่มน้ำ ทำให้นาร์ซิสซัสตกหลุมรักเงาของตนเองทันที เขาเฝ้ามองดูเงาของตนเองอย่างไม่ละสายตา ไม่กิน ไม่นอน จนเสียชีวิตข้างบ่อน้ำ ตามตำนานเล่าว่าเมื่อนาร์ซิสซัส เสียชีวิตลง ก็เกิดดอกไม้ขึ้น ดอกไม้ชนิดนั้นจึงมีชื่อเรียกว่า ดอกนาร์ซิสซัส (Narcissus) ค่ะ

ลองมาเช็คกันดูค่ะว่า กลุ่มอาการของโรคหลงตัวเอง นั้นมีอะไรบ้าง

  1. รู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญ มีสิทธิเหนือคนอื่น
  2. ต้องการได้รับการชื่นชมและการดูแลที่พิเศษกว่าบุคคลอื่น
  3. คิดว่าตนเองมีความสำเร็จหรือมีพรสวรรค์ที่เกินจริง
  4. ไม่สามารถรับการวิจารณ์เชิงลบได้
  5. หมกมุ่นกับการโอ้อวดตนเอง
  6. ขาดความเห็นใจต่อผู้อื่น

หากลองเช็คตัวเองกันแล้วว่าเราเข้าข่ายต่อการเป็นโรคหลงตัวเองแล้วนั้น ควรจะไปพบนักจิตวิทยา หรือปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อประเมินเพิ่มเติมและรักษาด้วยวิธีจิตบำบัดต่อไปค่ะ

สนใจบริการ

#บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหาร #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนคาปัสสาวะ

การใส่สายสวนคาปัสสาวะในผู้ป่วย สามารถใส่ได้ในหลายกรณี เช่น ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เมื่อถอดสายสวนปัสสาวะแล้วยังปัสสาวะเองไม่ออก
หรือ ผู้ป่วยที่ปัสสาวะไม่สุด และไม่ต้องการสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (Intermittent Catheterization) เป็นต้นค่ะ

โดยการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ สามารถทำได้ดังนี้ค่ะ

  1. สังเกตปัสสาวะในสายและในถุงปัสสาวะ ว่าปัสสาวะไหลดี ไม่มีการอุดตันของสายสวนปัสสาวะ
  2. สังเกตปัสสาวะในถุงปัสสาวะ ทั้งในเรื่องปริมาณของปัสสาวะ ลักษณะสีและกลิ่นของปัสสาวะ หากปัสสวะ สีเข้ม มีกลิ่นฉุน อาจแสดงถึงภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  3. ทำความสะอาดอวัยวะเพศและสายสวนปัสสาวะเมื่อชำระทำความสะอาดให้ผู้ป่วย หากมีคราบหรือสิ่งสกปรกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  4. ระวังปัสสาวะไหลย้อนจากสายสวนปัสสาวะกลับเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะขณะเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยหรือขณะทำการพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย ต้องทำการ clamp สายก่อน
  5. แปะพลาสเตอร์เพื่อยึดระหว่างสายสวนปัสสาวะกับผิวหนังบริเวณต้นขาผู้ป่วยระวังการดึงรั้งของสายสวนปัสสาวะ
  6. เปลี่ยนพลาสเตอร์ที่แปะขาทุกวันเพื่อป้องกันความสกปรกและป้องกันหากพลาสเตอร์เก่า แถบกาวยึดไม่ดี อาจทำให้เกิดการรั้งของสายสวนปัสสาวะได้
  7. เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด ซึ่งโดยปกติจะเปลี่ยนทุก 4 สัปดาห์ หรือหากมีสายสวนปัสสาวะอุดตัน มีตะกอนมาก ปัสสาวะไม่ไหล ต้องเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะทันทีค่ะ เพราะหากปัสสาวะไม่ไหลออกมาทางสายจะทำให้น้ำปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะฉีกขาดได้(Urinary Bladder rupture)

สนใจบริการ

#บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหาร #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

สายให้อาหารทางจมูก (Nasal Feeding Tube)

ในผู้ป่วยที่ต้องมีใส่สายให้อาหารทางจมูก (Nasal Feeding Tube) เพื่อให้รับอาหารได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายไม่ว่าจะเป็นการใส่สายให้อาหารทางจมูกไปยังกระเพาะอาหาร (NG tube) การใส่สายให้อาหารทางจมูกลงไปยังลำไส้เล็กส่วน Deodemun / Jejunum (ND/ NJ tube) ซึ่งการใส่สายให้อาหารทางจมูกในผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะเป็นการใส่สายให้อาหารทางจมูกไปยังกระเพาะอาหาร (NG tube) ค่ะ

โดยสายให้อาหารชนิดซิลิโคน (Silicone NG tube) จะเป็นที่นิยมในผู้ป่วยที่ต้องมีการใส่สายให้อาหารเป็นระยะเวลานาน เนื่องจาก

  1. ตัวสายทำจาก Silicone ทำให้สายอ่อนนุ่มมากกว่าสายให้อาหารชนิดพลาสติก ทำให้เวลาใส่สายให้อาหารเข้าไปผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บน้อยกว่า
  2. ซิลิโคนจะไม่ทำปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อจมูก ทางเดินหายใจ และในกระเพาะอาหาร
  3. ปลายสาย Silicone ที่อยู่ในกระเพาะอาหารจะไม่เกิดการแข็งตัวขึ้นเหมือนสายชนิดพลาสติกทำให้ไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
  4. ทำความสะอาดได้ง่าย ลดการสะสมของคราบอาหารหรือคราบยาหลังจากการฟีด เนื่องจากลักษณะของสายที่นิ่มกว่าสายพลาสติกทำให้สามารถ บีบคลึง (Milking and Stripping) สายได้ง่ายกว่า ทำให้คราบอาหารหรือยาที่เกาะติดตามสายหลุดออกได้ง่าย คงสภาพสายให้สะอาดได้นานกว่า

แต่เนื่องจากสายให้อาหารชนิดซิลิโคนมีราคาสูงกว่าสายให้อาหารชนิดพลาสติกค่อนข้างมาก ในผู้ป่วยที่ไม่ได้ใส่สายให้อาหารนานสามารถเลือกใช้สายให้อาหารชนิดพลาสติก(PVC) แทนได้

การใส่สายให้อาหารทางจมูกเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใส่สายให้อาหารในระยะสั้น หากผู้ป่วยจำเป็นต้องมีการใส่สายให้อาหารไปตลอด แพทย์จะพิจารณาเรื่องการใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง (PEG) แทนค่ะ

แต่ไม่ว่าจะเป็นสายให้อาหารชนิดซิลิโคนหรือชนิดพลาสติก ก็ล้วนเป็นทางผ่านของอาหารในผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟีดอาหารเพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอได้เช่นกันค่ะ ถึงแม้จะเป็นสายให้อาหารชนิดพลาสติกหากดูแลรักษาดีก็คงสภาพสายให้สะอาดได้นานขึ้น

ซึ่งตามปกติแล้วแพทย์จะนัดให้ผู้ป่วยมาทำการเปลี่ยนสายให้อาหารทุก 4-6 สัปดาห์ แต่หากสายให้อาหารมีคราบอาหาร คราบยามาก ทำให้สายดูสกปรกหรือเสี่ยงต่อสายให้อาหารอุดตัน ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนสายให้อาหารก่อนวันนัดได้เช่นกันค่ะ

หากต้องการเปลี่ยนสายอาหารที่บ้าน สามารถเข้ามาดูรายละเอียดได้ก่อนค่ะ บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน

สนใจบริการ

เจาะเลือดที่บ้าน #ทำแผลที่บ้าน #วางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน#เปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน#เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com