เลือก ถุงยางอนามัย ไซส์ไหนดี

ถุงยางอนามัย (Condom) มาจากภาษาละติน แปลว่า ภาชนะรองรับ

การใช้ถุงยางอนามัยเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วยค่ะ โดยถุงยางอนามัยมีทั้งแบบของผู้หญิง และถุงยางอนามัยของผู้ชาย แต่คนส่วนใหญ่เมื่อนึกถึงถุงยางอนามัยจะนึกถึงถุงยางอนามัยของผู้ชาย ก่อนค่ะ เพราะถุงยางอนามัยของผู้ชายเป็นที่นิยมเนื่องจากหาซื้อได้ง่ายและใช้งานได้สะดวกค่ะ
ถุงยางอนามัย ถูกผลิตขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1564 เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยวิวัฒนาการของถุงยางอนามัย แต่ก่อนมีการใช้ไส้แกะในการทำถุงยางอนามัย ในปัจจุบันถุงยางอนามัยถูกผลิตโดย โพลียูรีเทน เนื่องจากราคาถูก หาซื้อได้ง่าย ป้องกันเชื้อไวรัสได้และทำให้เกิดความเสี่ยงในการแพ้ถุงยางอนามัยได้น้อยกว่าค่ะ

โดยถุงยางอนามัยนั้นมีหลายขนาด ค่ะ เช่น 49 mm., 52 mm., 54 mm., 56 mm. ค่ะ ขนาดที่เป็นไซส์มาตรฐานของคนไทยคือไซส์ 49 mm. และ 52 mm. ค่ะ ทั้งนี้ขนาดที่เห็นดังกล่าว ไม่ใช่ขนาดความยาวของอวัยวะเพศนะคะ แต่เป็นขนาดเส้นรอบวงของอวัยวะเพศเมื่อมีการแข็งตัวค่ะ

การเลือกไซส์ถุงยางอนามัย ให้เหมาะสมกับขนาดของอวัยวะเพศนั้นมีความสำคัญค่ะ เพราะหากเลือกไซส์ไม่เหมาะสมอาจเกิดปัญหาเหล่านี้ตามมาได้ เช่น

  • เลือกไซส์ถุงยางอนามัยใหญ่กว่าขนาดอวัยวะเพศ จะทำให้ถุงยางหลวม และหลุดขณะมีเพศสัมพันธ์ได้
  • เลือกไซส์ถุงยางอนามัยเล็กกว่าขนาดอวัยวะเพศ อาจจะทำให้ถุงยางอนามัยแตกขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ค่ะ

การวัดขนาดของอวัยวะเพศเพื่อเลือกขนาดของถุงยางอนามัยให้เหมาะสม สามารถทำได้ ดังนี้ค่ะ

  1. ทำให้อวัยวะเพศแข็งตัว
  2. ใช้ไม้บรรทัดวัดไซส์วัดรอบอวัยวะเพศ(เส้นรอบวง) ในส่วนที่อวบที่สุด (ไม่ใช่ความยาวนะคะ)
  3. นำความยาวที่ได้มาหารด้วย 2.3 จะได้ขนาดของถุงยางอนามัยที่ควรเลือกใช้ค่ะ

เช่น วัดเส้นรอบวงอวัยวะเพศขณะแข็งตัวได้ 112 มิลลิเมตร หารด้วย 2.3 จะต้องเลือกถุงยางอนามัยไซส์ 49 mm. ค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Blue หรือ Baby Blue)

เคยคลอดลูกแล้ว หลังคลอดมีความรู้สึกเศร้า เบื่อหน่าย แบบนี้ผิดปกติหรือเปล่านะ?

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด(Postpartum Blue) เกิดจากการลดลงอย่างรวดเร็วของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน(Estrogen) และโปรเจสเตอโรน(Progesterone) มักจะเกิดขึ้นช่วงประมาณ 4-5 วันหลังคลอด และจะกลับมาเป็นปกติประมาณวันที่ 10 และนอกจากนี้อาจมีสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดร่วมได้ เช่น การพักผ่อนน้อย ต้องคอยดูแลลูก หากคุณแม่หลังคลอดสามารถปรับตัวได้และมีคนคอยช่วยเลี้ยงลูก จะลดความเครียดในส่วนนี้ลงได้ค่ะ

อาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เช่น นอนไม่หลับ เบื่อหน่าย ซึมเศร้าวิตกกังวล เป็นต้นค่ะ

จะเห็นว่านอกจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนที่ตัวของคุณแม่หลังคลอดเองนั้น ความเหนื่อยล้าจากการเลี้ยงดูบุตรยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ ครอบครัวและคนใกล้ชิดจึงมีความสำคัญที่จะสามารถช่วยให้อารมณ์ของคุณแม่หลังคลอดกลับสู่ภาวะปกติได้ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยดูแลบุตร การปลอบโยนและประคับประคองจิตใจของคุณแม่หลังคลอดค่ะ

เพราะภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum blues) หากปล่อยไว้นานเกินระยะเวลา 2 สัปดาห์ จะพัฒนาไปสู่โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression) เช่น ซึมเศร้า เบื่อหน่ายการดูแลลูก รู้สึกตัวเองไร้ค่า ไม่มีความสามารถ หรือหากถึงขั้นอยากฆ่าตัวตายได้ค่ะ ซึ่งหากเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด ผู้รับบริการจะต้องมาพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษา เพราะหากไม่รักษาจะทำให้เกิดอันตรายต่อทั้งตัวคุณแม่หลังคลอดเอง และลูกน้อยอีกด้วย

สนใจบริการ
บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสาสวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

การบริจาคอวัยวะ

ถ้าบริจาคอวัยวะ เกิดมาชาติหน้าจะพิการหรือเปล่านะ?

สิ่งหนึ่งที่ทำให้จำนวนผู้บริจาคอวัยวะของประเทศเรา มีจำนวนที่น้อย เพราะยังมีความเชื่อที่ว่า หากบริจาคอวัยวะแล้วเมื่อเสียชีวิต ถูกผ่าเอาอวัยวะออกไป เกิดมาชาติหน้าจะทำให้พิการ อวัยวะไม่ครบ
แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่เกี่ยวเลยค่ะ นอกจากนี้การบริจาคอวัยวะยังเป็น ‘ทานบารมี’ ที่ยิ่งใหญ่ในทางพุทธศาสนา ด้วยค่ะ

เมื่อเราเสียชีวิตลงจากภาวะสมองตาย (Brain Death) แล้วอวัยวะภายในของเรายังสามารถที่จะใช้งานได้ แล้วเราทำเรื่องในการบริจาคอวัยวะไว้ ร่างกายของเราจะถูกนำไปผ่าตัดเอาอวัยวะที่สามารถไปใช้สำหรับผู้ป่วยคนอื่นๆ ออกค่ะ

ซึ่งอวัยวะที่สามารถทำการผ่าตัดออกมาจากร่างกายของผู้เสียชีวิตมีจำนวนทั้งหมด 7 ชิ้น ได้แก่ ไต 2 ข้าง, ปอด 2 ข้าง, หัวใจ, ตับ, ตับอ่อน นอกจากนี้ยังมีเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่ายได้ ได้แก่ ผิวหนัง ลิ้นหัวใจ กระดูกและเส้นเอ็น กระจกตา

โดยอวัยวะที่สามารถนำมาใช้ได้นั้นจะถูกผ่ามาจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตด้วยภาวะสมองตาย(Brain Death)

หรือในกรณีผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต (Living Donor) ซึ่งการบริจาคในผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ผู้บริจาคต้องมีความเกี่ยวข้องเป็นญาติทางสายเลือด หรือเป็นสามีภรรยากับผู้รับเท่านั้น

และนอกจากนี้การเก็บอวัยวะและระยะเวลาในการนำอวัยวะชิ้นนั้นๆ ส่งเพื่อดำเนินการผ่าตัด นั้นมีความสำคัญมาก เพราะหากอวัยวะนั้นถูกผ่าออกมาแล้วทิ้งไว้นานเกินจะทำให้เกิดเซลล์ตาย ทำให้ไม่สามารถนำไปปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยอีกคนได้ค่ะ ซึ่งระยะเวลาของการปลูกถ่ายของอวัยวะต่างๆ มี ดังนี้ค่ะ

  • หัวใจ ขาดเลือดได้ไม่เกิน 4 ชั่วโมง
  • ปอด ขาดเลือดได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง
  • ตับ ขาดเลือดได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมง
  • ไต ขาดเลือดได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง

จะเห็นแล้วใช่ไหมคะว่า การบริจาคอวัยวะเป็นการให้ที่ยิ่งใหญ่ ที่จะสามารถช่วยต่อชีวิตให้ผู้ป่วยคนอื่นๆ ได้หลายคน หลังจากที่เราเสียชีวิตไปแล้ว หากใครที่ยังไม่ได้บริจาคอวัยวะแล้วสนใจที่จะบริจาค สามารถไปติดต่อได้ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด หรือศูนย์บริจาคอวัยวะสภากาชาดไทย , เหล่ากาชาดจังหวัด ทุกแห่งค่า

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน เปลี่ยนสายให้อาหารสาย #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

เม็ดเลือดขาวแต่ละ ชนิด ต่างกันอย่างไร

เวลาร่างกายของเรามีการติดเชื้อเกิดขึ้น หากเจาะเลือดดูเม็ดเลือดขาว(White Blood Cells) มักจะพบว่าเม็ดเลือดขาว มีจำนวนสูงกว่าปกติ (ระดับเม็ดเลือดขาวปกติในกระแสเลือดของเราอยู่ที่ 4,500-10,000 cell/ml.)

นั่นเป็นเพราะว่า เมื่อร่างกายของเรามีการอักเสบติดเชื้อขึ้น เม็ดเลือดขาวจะถูกสร้างขึ้นเพื่อมาต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกายเรานั่นเองค่ะ

กรณีที่เม็ดเลือดขาวอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ แปลว่าภูมิคุ้มกันของร่างกายของเราต่ำ ทำให้ร่างกายของเราเกิดการติดเชื้อได้ง่าย ต้องระวังเรื่องการรักษาความสะอาด รับประทานอาหารที่สุกสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อค่ะ

ซึ่งเม็ดเลือดขาวแบ่งออกเป็น 5 ชนิด ได้แก่

  1. Lymphocytes เม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะสร้าง แอนติบอดี(Antibody) เพื่อมาต่อสู้กับแบคทีเรีย ไวรัส
  2. Monocytes เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีอายุขัยยาวนานมากกว่าเม็ดเลือดขาวตัวอื่นๆ ช่วยในการทำลายแบคทีเรีย
  3. Neutrophils เป็นเม็ดเลือดขาวที่เป็นทำการฆ่าแบคทีเรีย หรือเชื้อรา เป็นชนิดของเม็ดเลือดขาวที่มีมากสุดในกระแสเลือดและยังเป็นด่านหน้าในการต่อสู้กับเชื้อโรค
  4. Eosinophils เม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะทำหน้าที่จู่โจมและฆ่าปรสิตและเซลล์มะเร็ง และช่วยเกี่ยวกับการตอบสนองต่อภูมิแพ้
  5. Basophils เม็ดเลือดขาวชนิดนี้จะเป็นตัวบ่งบอกเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในกระแสเลือด โดยมันจะทำหน้าที่สร้างสารเคมี เช่น ฮิสตามีน (Histamine) เพื่อบ่งบอกถึงภาวะภูมิแพ้ เป็นต้น

จะเห็นแล้วว่าเมื่อร่างกายของเรามีการติดเชื้อหรือการอักเสบเกิดขึ้น นอกจาก WBC ที่สูงขึ้นแล้วนั้น หากเรามาดูชนิดของเม็ดเลือดขาวทั้ง 5 แบบ ก็อาจจะมีชนิดใดชนิดหนึ่งสูงขึ้นได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าร่างกายของเรามีการติดเชื้อหรือการอักเสบขึ้นจากสาเหตุใดนั่นเองค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #เปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

ดูแลดวงตาของเรายังไงดีนะ

ตื่นเช้ามาสิ่งที่คนเราทำเป็นอย่างแรก คือ การลืมตาใช่ไหมคะ 😅

จะเห็นว่าตาเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักมาก หลายคนไม่ได้ดูแลรักษาดวงตาของตนเองให้ดี ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับสายตาตามมา ไม่ว่าจะเป็น

  • สายตาสั้น (Myopia)
  • สายตายาว (Hyperopia)
  • สายตาเอียง (Astigmatism)

ซึ่งความผิดปกติทางสายตาต่างๆ เหล่านั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมของเรานั่นเองค่ะ เช่น

  • การที่เราชอบอ่านหนังสือ/เล่นมือถือในที่มืด มีแสงสว่างไม่เพียงพอ
  • นอนตะแคงอ่านหนังสือ/เล่นโทรศัพท์
  • ดูทีวี/จอมือถือใกล้ เกินไป

พฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านสายตาตามมาค่ะ หรือผู้ที่ทำงานที่ต้องมีการจ้องจอ อยู่ตลอดเวลา จะทำให้สายตาเกิดการอ่อนล้า ได้ค่ะ

วันนี้เราจึงมาชวนดูแลดวงตาของเรากันค่ะ

  1. เปิดแสงสว่างให้เพียงพอ ในกิจกรรมที่ต้องใช้สายตา เช่น ทำงาน/อ่านหนังสือ
  2. เว้นระยะห่างของตัวเรากับหน้าจอให้เหมาะสม (50-70 cm.)
  3. พักสายตาเมื่อต้องทำงานที่จ้องหน้าจอนานเกินไป ควรพักทุก 1 ชั่วโมง โดยมองไปในที่ระยะไกลๆ ประมาณ 10-20 วินาที
  4. ใช้แว่นตาตัดแสงสีฟ้าเพื่อช่วยให้เกิดความสบายตาในผู้ที่ต้องทำงานหน้าจอนาน
  5. รับประทานอาหารบำรุงสายตา อาหารที่มีวิตามิน A C E สูง เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม แครอท อะโวคาโด เป็นต้น

นอกจากการดูแลดวงตาให้ดีอย่างสม่ำเสมอแล้ว หากเริ่มรู้สึกว่ามองเห็นไม่ชัดแนะนำให้ไปพบจักษุแพทย์เพื่อประเมินภาวะการมองเห็นของสายตา หากพบว่ามีสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง แล้วต้องมีการสวมใส่แว่นเพื่อปรับการมองเห็นให้ชัดค่ะ เพราะ หากเรามองเห็นไม่ชัดแล้วพยายามที่จะหรี่ตามองเพื่อให้เห็นชัดขึ้น จะทำให้สายตาของเราแย่ลงได้ค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสาสวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com