สายให้อาหารทางจมูก (Nasal Feeding Tube)

ในผู้ป่วยที่ต้องมีใส่สายให้อาหารทางจมูก (Nasal Feeding Tube) เพื่อให้รับอาหารได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายไม่ว่าจะเป็นการใส่สายให้อาหารทางจมูกไปยังกระเพาะอาหาร (NG tube) การใส่สายให้อาหารทางจมูกลงไปยังลำไส้เล็กส่วน Deodemun / Jejunum (ND/ NJ tube) ซึ่งการใส่สายให้อาหารทางจมูกในผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะเป็นการใส่สายให้อาหารทางจมูกไปยังกระเพาะอาหาร (NG tube) ค่ะ

โดยสายให้อาหารชนิดซิลิโคน (Silicone NG tube) จะเป็นที่นิยมในผู้ป่วยที่ต้องมีการใส่สายให้อาหารเป็นระยะเวลานาน เนื่องจาก

  1. ตัวสายทำจาก Silicone ทำให้สายอ่อนนุ่มมากกว่าสายให้อาหารชนิดพลาสติก ทำให้เวลาใส่สายให้อาหารเข้าไปผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บน้อยกว่า
  2. ซิลิโคนจะไม่ทำปฏิกิริยาต่อเนื้อเยื่อจมูก ทางเดินหายใจ และในกระเพาะอาหาร
  3. ปลายสาย Silicone ที่อยู่ในกระเพาะอาหารจะไม่เกิดการแข็งตัวขึ้นเหมือนสายชนิดพลาสติกทำให้ไม่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร
  4. ทำความสะอาดได้ง่าย ลดการสะสมของคราบอาหารหรือคราบยาหลังจากการฟีด เนื่องจากลักษณะของสายที่นิ่มกว่าสายพลาสติกทำให้สามารถ บีบคลึง (Milking and Stripping) สายได้ง่ายกว่า ทำให้คราบอาหารหรือยาที่เกาะติดตามสายหลุดออกได้ง่าย คงสภาพสายให้สะอาดได้นานกว่า

แต่เนื่องจากสายให้อาหารชนิดซิลิโคนมีราคาสูงกว่าสายให้อาหารชนิดพลาสติกค่อนข้างมาก ในผู้ป่วยที่ไม่ได้ใส่สายให้อาหารนานสามารถเลือกใช้สายให้อาหารชนิดพลาสติก(PVC) แทนได้

การใส่สายให้อาหารทางจมูกเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใส่สายให้อาหารในระยะสั้น หากผู้ป่วยจำเป็นต้องมีการใส่สายให้อาหารไปตลอด แพทย์จะพิจารณาเรื่องการใส่สายให้อาหารทางหน้าท้อง (PEG) แทนค่ะ

แต่ไม่ว่าจะเป็นสายให้อาหารชนิดซิลิโคนหรือชนิดพลาสติก ก็ล้วนเป็นทางผ่านของอาหารในผู้ป่วยที่ต้องได้รับการฟีดอาหารเพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอได้เช่นกันค่ะ ถึงแม้จะเป็นสายให้อาหารชนิดพลาสติกหากดูแลรักษาดีก็คงสภาพสายให้สะอาดได้นานขึ้น

ซึ่งตามปกติแล้วแพทย์จะนัดให้ผู้ป่วยมาทำการเปลี่ยนสายให้อาหารทุก 4-6 สัปดาห์ แต่หากสายให้อาหารมีคราบอาหาร คราบยามาก ทำให้สายดูสกปรกหรือเสี่ยงต่อสายให้อาหารอุดตัน ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนสายให้อาหารก่อนวันนัดได้เช่นกันค่ะ

หากต้องการเปลี่ยนสายอาหารที่บ้าน สามารถเข้ามาดูรายละเอียดได้ก่อนค่ะ บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน

สนใจบริการ

เจาะเลือดที่บ้าน #ทำแผลที่บ้าน #วางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน#เปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน#เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหารทางจมูก (NG tube)

ในผู้ป่วยที่ยังไม่สามารถทานอาหารทางปากได้หรือยังทานอาหารทางปากได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จำเป็นต้องมีการใส่สายยางให้อาหาร โดยเริ่มต้นจะใส่สายให้อาหารทางจมูก หรือที่เรียกว่า Nasogatric feeding tube (NG tube)

NG tube คือ การใส่สายยางให้อาหารเข้าทางจมูกแล้วส่วนปลายของสายยางให้อาหารอยู่ที่กระเพาะอาหารนั่นเอง

ซึ่งการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหารทางจมูก มีดังนี้ค่ะ

  1. เช็คสายก่อนฟีดอาหารทุกครั้ง
    การฟีดอาหารผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหารทางจมูก ผู้ดูแลต้องมีการเช็คสายว่าปลายสายอยู่ในกระเพราะอาหารหรือไม่โดยใช้หูฟังทางการแพทย์(stetoscope) ฟังที่ลิ้นปี่ (xyphoid process) ก่อนใส่อากาศเข้าไป 10 cc. ด้วย syringe feed อาหารเพื่อฟังเสียงลมค่ะ
  2. เปลี่ยนพลาสเตอร์ติดสายให้อาหารที่จมูกให้ผู้ป่วย
    เมื่อพลาสเตอร์ที่ติดสายให้อาหารที่จมูกมีร่อน แปะยึดไม่อยู่ หรือสกปรก ผู้ดูแลต้องทำการเปลี่ยนเพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดของสายยางให้อาหารและป้องกันความสกปรกของคราบกาวที่จะติดกับสายยาง
  3. การบีบและรูดสายให้อาหาร(Milking and stripping)
    ผู้ป่วยที่ใส่สายให้อาหารทางจมูก เมื่อฟีดอาหารทางสายบ่อยครั้ง จะทำให้สายให้อาหารมีคราบอาหารภายในสายได้ ดังนั้นหลังจากผู้ดูแลฟีดอาหารหรือนมให้ผู้ป่วยเสร็จ ในขณะที่ทำการฟีดน้ำตาม ต้องมีการบีบและรูดสายให้อาหาร (milking and stripping) ในกรณีที่สายให้อาหารมีคราบอาหารติดในสายเพื่อให้คราบอาหารหลุด ทำให้ยืดอายุสายให้อาหารให้สะอาดได้นานขึ้นค่ะ
  4. เปลี่ยนสายให้อาหารตามระยะเวลากำหนด
    การใส่สายให้อาหารมีกำหนดระยะเวลาในการใส่สายให้อาหาร โดยปกติ แพทย์จะทำการนัดวันที่ในการเปลี่ยนสายให้อาหารให้ เมื่อถึงครบกำหนดเปลี่ยนสายให้อาหาร ผู้ดูแลต้องพาผู้ป่วยไปเปลี่ยนสายให้อาหารตามกำหนด เพื่อป้องกันสายให้อาหารมีคราบสกปรกสะสมมากและป้องกันสายให้อาหารมีฉีก ขาด จากการเสื่อมสภาพจากการใช้งาน และเมื่อเปลี่ยนสายให้อาหารควรใส่สายให้อาหารคนละข้างกับรูจมูกเดิมเพื่อลดการกดทับของเนื้อเยื่อของผู้ป่วย
  5. ระวังสายให้อาหารดึงรั้ง
    เมื่อผู้ป่วยใส่สายให้อาหารผู้ดูแลต้องจัดท่าให้ผู้ป่วยเกิดความสุขสบาย และระวังสายให้อาหารดึงรั้ง เช่น การรั้งจากร่างกายผู้ป่วยทับสายให้อาหารขณะพลิกตะแคงตัว หรือผู้ป่วยนอนทับสายให้อาหาร
  6. ระวังผู้ป่วยดึงสายให้อาหาร
    ผู้ป่วยหลายคน ไม่เคยใส่สายให้อาหารทางจมูกมาก่อน จะมีความรู้สึกไม่สุขสบาย ระคายคอ เหมือนมีอะไรอยู่ในคอตลอด ทำให้อาจเผลอไปจับหรือดึงสายให้อาหารทำให้เกิดการเลื่อนหลุดของสายให้อาหารได้

สนใจบริการ

เฝ้าไข้ที่บ้านและโรงพยาบาล #พาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล #เจาะเลือดที่บ้าน #ทำแผลที่บ้าน #วางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน#เปลี่ยนสายให้อาหาร#เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com