ตับอักเสบ (Hepatitis)

ตอนเป็นเด็กใครเคยได้ยินคำว่า ‘กินอาหารต้องใช้ช้อนกลาง ไม่อย่างนั้นจะเสี่ยงติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบ้างคะ’ ว่าแต่ ไวรัสตับอักเสบนี่เป็นยังไง และมีกี่ชนิดกันนะ

โดยไวรัสตับอักเสบจะมีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ไวรัสตับอักเสบ เอ (Hepatitis A virus) ไวรัสตับอักเสบ บี(Hepatitis B virus) ไวรัสตับอักเสบ ซี(Hepatitis C virus) ไวรัสตับอักเสบ ดี(Hepatitis D virus) และไวรัสตับอักเสบ อี(Hepatitis E virus) ค่ะ
ซึ่งไวรัสตับอักเสบแต่ละชนิดจะติดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน โดย

  • ไวรัสตับอักเสบ A ติดจาก การรับประทานอาหารอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสเข้าไป เช่น การรับประทานอาหารโดยไม่ใช้ช้อนกลาง การดื่มน้ำขวดเดียวกันกับผู้ที่มีเชื้อไวรัส หรือผู้ที่มีเชื้อไวรัสทำอาหาร เป็นต้น
  • ไวรัสตับอักเสบ B ติดจาก การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย การใช้ของมีคมร่วมกัน การสัก/เจาะร่างกาย โดยอุปกรณ์ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อตามมาตรฐาน หรือจากมารดาสู่ทารก เป็นต้น
  • ไวรัสตับอักเสบ C การติดเชื้อจะเหมือนไวรัสตับอักเสบ B ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย การใช้ของมีคมร่วมกัน การสัก/เจาะร่างกาย โดยอุปกรณ์ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อตามมาตรฐาน หรือจากมารดาสู่ทารก เป็นต้น
  • ไวรัสตับอักเสบ D การติดเชื้อจะเกิดร่วมกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย การใช้ของมีคมร่วมกัน การสัก/เจาะร่างกาย โดยอุปกรณ์ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อตามมาตรฐาน เป็นต้น
  • ไวรัสตับอักเสบ E ติดจากการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ปรุงไม่สุก

อาการของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ จะมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตัวเหลือง ตาเหลือง และในผู้ที่มีอาการตับอักเสบรุนแรงสามารถนำไปสู่การเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัสตับอักเสบ ซี ยังนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งตับในอนาคตได้ค่ะ

โดยการป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B และไวรัสตับอักเสบ C สามารถป้องกันได้ ดังนี้ค่ะ

  1. ฉีดวัคซีน ปัจจุบันไวรัสตับอักเสบ B มีวัคซีนที่สามารถป้องกันได้ โดยการฉีดวัคซีนจำนวน 3 เข็ม แต่ยังไม่มีวัคซีนสำหรับไวรัสตับอีกเสบ C ค่ะ
  2. ไม่ดื่มน้ำจากขวดเดียวกันกับผู้อื่น ใช้ช้อนกลางในการรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันการสัมผัสน้ำลายของผู้อื่น
  3. ไม่ใช้ของมีคมร่วมกันผู้อื่น เช่น กรรไกรตัดเล็บ ใบมีดโกน เพื่อป้องกันการติดเชื้อหากมีการบาดผิวหนังแล้วมีเลือดออก
  4. ป้องกันการสัมผัสเลือดและสิ่งคัดหลั่งจากผู้อื่น สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือ เสื้อคลุม แว่นตา เป็นต้น หากต้องทำหัตถการที่มีความเสี่ยงต่อการกระเด็นของเลือดหรือสิ่งคัดหลั่ง

เห็นแล้วใช่ไหมคะว่าไวรัสตับอักเสบเป็นโรคที่เสี่ยงต่อการติดได้ง่ายและสามารถนำไปสู่ภาวะสุขภาพและการเสียชีวิตได้ แต่หากเรารู้จักการป้องกันตนเองได้อย่างถูกวิธีแล้ว ก็จะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบลงได้ค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #เปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนคาปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron Deficiency Anemia)

เกิดจากการลดลงของธาตุเหล็ก ซึ่งส่งผลต่อการสร้างฮีโมโลบิน (Hemoglobin) ของเม็ดเลือดแดง (Red Blood Cell) ซึ่งการลดลงของธาตุเหล็กในร่างกายนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น การเสียเลือด การดูดซึมในทางเดินอาหารลดลง หรือการได้รับธาตุเหล็กจากอาหารน้อย เป็นต้นค่ะ

ผู้ที่มีอาการซีดจากการขาดธาตุเหล็ก จะมีอาการ
⁃ ซีด เหนื่อยง่าย อ่อนแรง
⁃ เจาะเลือด ตรวจ CBC จะพบว่า Hemoglobin Hematocrit MVC ต่ำกว่าระดับปกติ เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กและติดสีจาง (Microcytic and Hypochromic)

โดยหากผู้ป่วยมีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก สามารถรักษาได้ ดังนี้

  1. เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อแดง เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล ไข่แดง ผักใบเขียว เป็นต้น
  2. รับประทานธาตุเหล็กเสริม(Iron Supplement) ตามแพทย์สั่ง
  3. ในผู้ที่มีอาการซีดรุนแรง แพทย์อาจประเมิน การได้รับยาฉีดร่วมด้วยค่ะ

หากแพทย์ให้คำแนะนำว่าต้องทานธาตุเหล็กเสริม การรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก(Iron supplement) ควรทำดังนี้
⁃ ✅ รับประทานระหว่างมื้ออาหาร เพื่อประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าร่างกาย
⁃ ✅ ทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก กับวิตามินรวม (Multivitamin) หรือน้ำผลไม้ที่มีวิตามิน ซี สูง เช่น น้ำฝรั่ง น้ำมะเชือเทศ เพื่อช่วยเรื่องการดูดซึมธาตุเหล็ก
⁃ ❌ ไม่รับประทาน อาหารเสริมธาตุเหล็กร่วมกับนม หรือยาลดกรด เพราะจะลดการดูดซึมธาตุเหล็ก
⁃ แนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับผลจากการรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก ได้แก่ อุจจาระสีดำ (Black stool) ภาวะท้องผูก (Constipation)
⁃ อาหารเสริมธาตุเหล็กในรูปแบบน้ำ จะทำให้เกิดคราบที่ฟัน(stain the teeth) ได้ หากผู้ป่วยทานอาหารเสริมธาตุเหล็กในรูปแบบน้ำ ต้องใช้หลอดดูดเพื่อลดการเกิดคราบที่ฟัน และควรแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #เปลี่ยนสายให้อาหารสาย #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสาสวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

มะเร็งเต้านม (Breast Cancer)

มะเร็งเต้านมเกิดจากเซลล์ผิดปกติ มีการแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่รอบท่อน้ำนมและมีการเจริญเติบโตขึ้นในลักษณะที่ผิดปกติ นอกจากนี้เซลล์มะเร็งยังสามารถแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง และมักจะมีการลุกลามไปยังกระดูก ปอด สมองและตับอีกด้วย

ปัจจัยเสี่ยง
⁃ ผู้สูงอายุ อายุ > 65 ปี
⁃ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
⁃ มีประวัติเป็นมะเร็งมดลูก หรือมะเร็งรังไข่
⁃ ผู้ที่มีประจำเดือนเร็วและหมดประจำเดือนช้า
⁃ ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน
⁃ ผู้ที่รักษาโดยการใช้ฮอร์โมนทดแทน (Homonal Replacement Therapy
⁃ ผู้ที่เป็นโรคอ้วน (Obesity)
⁃ มีประวัติการสัมผัสกับรังสีบริเวณหน้าอก

อาการของมะเร็งเต้านม

  1. คลำได้ก้อนที่เต้านม
  2. มีสิ่งคัดหลั่งเป็นลึกษณะน้ำใสๆ หรือเลือดซึมมาจากหัวนม
  3. ลักษณะผิวหนังบริเวณเต้านมมีการรั้ง
  4. ผิวหนังบริเวณเต้านมบวม มีลักษณะผิวเปลือกส้ม
  5. ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใต้รักแร้ในข้างที่คลำได้ก้อนมีการบวมโต

การวินิจฉัย
สามารถวินิจฉัยได้โดยการตัดชิ้นเนื้อ(Biopsy) ด้วยวิธี Needle Aspiration

การรักษา

  1. การรักษาด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy)
  2. การรักษาด้วยการฉายแสง (Radiation therapy)
  3. การรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormonal manipulation)
  4. การรักษาด้วยการผ่าตัด (Surgical intervention)

การดูแลตนเองหลังการผ่าตัด

  1. หลีกเลี่ยงการใช้แขนข้างที่ทำการผ่าตัดเต้านมช่วงแรก
  2. ยกแขนข้างที่ทำการผ่าตัดให้สูงเพื่อป้องกันต่อมน้ำเหลืองโต
  3. เมื่อแผลหายแล้ว ทำการตรวจเต้านมด้วยตนเอง(Breast self examination)
  4. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือการใช้แขนข้างที่ทำการผ่าตัดเต้านมในการยกของหนัก
  5. หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้า หรือเครื่องประดับที่รัดในแขนข้างที่ทำการผ่าตัดเต้านม
  6. หลีกเลี่ยงกีฬาที่มีการกระแทกหรือกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อหน้าอก
  7. ไปพบแพทย์ก่อนวันนัดเมื่อมีการอักเสบบวมแดงร้อนในแขนข้างที่ทำการผ่าตัดเต้านม

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #เปลี่ยนสายให้อาหารสาย #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสาสวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer)

ปากมดลูกเป็นส่วนหนึ่งของมดลูก ซึ่งเป็นอวัยวะสืบพันธ์ของเพศหญิง มะเร็งปากมดลูก(Cervical cancer) คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นบริเวณปากมดลูก โดยในระยะที่ 1 : มะเร็งจะอยู่บริเวณปากมดลูก, ในระยะที่ 2-3 : มะเร็งจะมีการแพร่ไปยังอวัยวะส่วนอื่นในอุ้งเชิงกราน และในระยะที่ 4 : มะเร็งลุกลามไปทั่วร่างกาย สามารถลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลืองได้

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมีหลายปัจจัย เช่น
⁃ มะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human Papilloma Virus) ซึ่งการฉีดวัคซีนป้องกัน HPV สามารถลดการติดเชื้อ HPV และป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากการติดเชื้อ HPV ได้
⁃ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปากมดลูก
⁃ การสูบบุหรี่ และการสูบบุหรี่มือสอง (Secondhand smoke)
⁃ พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย (ก่อนอายุ 17 ปี) มีคู่นอนหลายคน, หรือคู่นอนผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาหลายคน เป็นต้น
⁃ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
⁃ เป็นโรคอ้วน
⁃ มีการใช้ยาคุมเป็นระยะเวลานาน
⁃ มีการคลอดลูกมาแล้วหลายครั้ง คลอดลูกคนแรก ก่อนอายุ 17 ปี

โดยอาการของมะเร็งปากมดลูก มีดังนี้ค่ะ
⁃ มีสิ่งคัดหลั่งจากช่องคลอด มีกลิ่นเหม็น
⁃ ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน หลังช่วงล่าง ขา ขาหนีบ
⁃ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
⁃ มีปัสสาวะและอุจจาระเล็ดออกทางช่องคลอด
⁃ ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะมีเลือดปน
⁃ มีการเปลี่ยนแปลงทางเซลล์วิทยา(ผลผิดปกติ) ในการตรวจ Pap test

หากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก ต้องให้แพทย์ประเมินว่าควรได้รับการรักษาด้วยวิธีการใด เนื่องจากการรักษามะเร็งปากมดลูกสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งค่ะ การรักษามีวิธีการดังนี้
⁃ การรักษาด้วยเลเซอร์ (Laser therapy)
⁃ การผ่าตัดด้วยความเย็น (Cryosurgery)
⁃ การตัดปากมดลูกเป็นรูปกรวย (Conization)
⁃ การตัดมดลูก (Hysterectomy)

ซึ่งหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยต้องมีการดูแลตนเอง ไม่ว่าจะเป็น ลดการขึ้นลงบันได 1 เดือน หรือตามแพทย์สั่ง, หลีกเลี่ยงการแช่อ่างอาบน้ำ หรือ การนั่งเป็นระยะเวลานาน, หลีกเลี่ยงกิจกรรมหนัก หรือ การยกของหนัก (น้ำหนัก 9 กิโลกรัม), หลีกเลี่ยงการขับรถภายตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด เป็นต้นค่ะ

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com

ต้อกระจก (Cataract)

เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ร่างกายก็จะเกิดความเสื่อมได้ตามวัย สิ่งหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ คือ ปัญหาทางด้านการมองเห็นค่ะ ซึ่งต้อกระจก (Cataract) เป็นหนึ่งในปัญหาการมองเห็นที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุค่ะ เรามาดูกันค่ะว่า ต้อกระจก คืออะไร

ต้อกระจก คือ การเปลี่ยนแปลงของเลนส์ตาเกิดความขุ่น ทำให้ภาพที่จอประสาทตา (Retina) ไม่ชัดเจน พร่ามัว หากไม่รักษาจะนำไปสู่ภาวะตาบอดได้ค่ะ

สาเหตุที่ทำให้เกิดต้อกระจก

  1. ต้อกระจกในผู้สูงอายุ (Senile cataract)
  2. ต้อกระจกแต่กำเนิด (Congenital cataract)
  3. ต้อกระจกจากการได้รับบาดเจ็บ (Traumatic catarct)
    และนอกจากนี้ โรคต้อกระจก ยังสามารถเกิดได้จากการเจ็บป่วยจากโรคอื่น ซึ่งส่งผลต่อตา (Secondary cataract) เช่น เบาหวาน หรือการใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์

ต้อกระจก มีอาการอย่างไร

  • ระยะแรก (Early sign): ผู้ป่วยจะมองเห็นภาพไม่ชัด มองเห็นสีของของภาพลดลงเหมือนมีฝ้า หรือหมอกมาบังตา
  • ระยะหลัง(Late sign) : ผู้ป่วยจะเริ่มมีการเห็นภาพซ้อน ความคมชัดในการมองเห็นภาพลดลง รูม่านตา(Pupil) เป็นสีขาว
  • สุดท้ายผู้ป่วยจะสูญเสียการมองเห็น(Loss of vision)

ซึ่งหากผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุที่บ้านมีอาการข้างต้นดังกล่าว แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการผ่าตัดเพื่อป้องกันการสูญเสียการมองเห็น ในผู้สูงอายุที่เป็นต้อกระจก จะมีอาการเจ็บตาหรือตาแดงร่วมด้วยได้ค่ะ

การดูแลตนเองหลังการผ่าตัดต้อกระจก

  1. หลีกเลี่ยงการ ไอ จาม อาเจียน หรือยกของหนัก
  2. ช่วง 2-3 วันแรก หลังการผ่าตัดอาจมีอาการคันตาได้ หลีกเลี่ยงการถู หรือวางของที่ทำให้เกิดแรงกดลงที่ตา
  3. หลีกเลี่ยงภาวะท้องผูก เนื่องจากจะทำให้เกิดการเบ่งได้ แนะนำให้ทานอาหารเพิ่มไฟเบอร์ ดื่มน้ำ หรือใช้ยาระบายเพื่อลดภาวะท้องผูก
  4. หากมีสิ่งคัดหลั่งจากตา หรือน้ำตา เช็ดทำความสะอาดตาด้วยสำลีสเตอร์ไรด์ชุบน้ำเกลือ (NSS) โดยเช็ดจากหัวตาไปหางตา
  5. สวมใส่ที่ครอบตา(Eye shield) ขณะนอนหลับ
  6. หากมีอาการผิดปกติ เช่น การมองเห็นลดลง เจ็บตามาก ตาแดงขึ้น หรือมีสิ่งคัดหลั่งออกจากตามากผิดปกติ แนะนำให้ไปพบแพทย์ก่อนวันนัด

สนใจบริการ

บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหารที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com