การดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนคาปัสสาวะ

การใส่สายสวนคาปัสสาวะในผู้ป่วย สามารถใส่ได้ในหลายกรณี เช่น ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด เมื่อถอดสายสวนปัสสาวะแล้วยังปัสสาวะเองไม่ออก
หรือ ผู้ป่วยที่ปัสสาวะไม่สุด และไม่ต้องการสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (Intermittent Catheterization) เป็นต้นค่ะ

โดยการดูแลผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ สามารถทำได้ดังนี้ค่ะ

  1. สังเกตปัสสาวะในสายและในถุงปัสสาวะ ว่าปัสสาวะไหลดี ไม่มีการอุดตันของสายสวนปัสสาวะ
  2. สังเกตปัสสาวะในถุงปัสสาวะ ทั้งในเรื่องปริมาณของปัสสาวะ ลักษณะสีและกลิ่นของปัสสาวะ หากปัสสวะ สีเข้ม มีกลิ่นฉุน อาจแสดงถึงภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  3. ทำความสะอาดอวัยวะเพศและสายสวนปัสสาวะเมื่อชำระทำความสะอาดให้ผู้ป่วย หากมีคราบหรือสิ่งสกปรกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  4. ระวังปัสสาวะไหลย้อนจากสายสวนปัสสาวะกลับเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะขณะเคลื่อนย้ายตัวผู้ป่วยหรือขณะทำการพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย ต้องทำการ clamp สายก่อน
  5. แปะพลาสเตอร์เพื่อยึดระหว่างสายสวนปัสสาวะกับผิวหนังบริเวณต้นขาผู้ป่วยระวังการดึงรั้งของสายสวนปัสสาวะ
  6. เปลี่ยนพลาสเตอร์ที่แปะขาทุกวันเพื่อป้องกันความสกปรกและป้องกันหากพลาสเตอร์เก่า แถบกาวยึดไม่ดี อาจทำให้เกิดการรั้งของสายสวนปัสสาวะได้
  7. เปลี่ยนสายสวนปัสสาวะตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด ซึ่งโดยปกติจะเปลี่ยนทุก 4 สัปดาห์ หรือหากมีสายสวนปัสสาวะอุดตัน มีตะกอนมาก ปัสสาวะไม่ไหล ต้องเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะทันทีค่ะ เพราะหากปัสสาวะไม่ไหลออกมาทางสายจะทำให้น้ำปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะฉีกขาดได้(Urinary Bladder rupture)

สนใจบริการ

#บริการเจาะเลือดที่บ้าน #บริการทำแผลที่บ้าน #บริการวางแผนสอนดูแลผู้ป่วยผู้สูงอายุที่บ้าน #บริการเปลี่ยนสายให้อาหาร #บริการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะที่บ้าน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Line : @unitynursingcare
Tel 📱: 063-526-5593
E-mail 📩: unitynursingcare@gmail.com
Website 🌐 : www.unitynursingcare.com